วัยสูงอายุ (old age)

19 พ.ค.

ชื่อเรื่อง  :  จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย เล่ม 2, วัยรุ่น-วัยสูงอายุ

บรรณาธิการ  :   ศาสตราจารย์ ดร.ศรีเรือน  แก้วกังวาล

ผู้จัดพิมพ์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คณะศิลปศาสตร์. ภาควิชาจิตวิทยา

ปีที่พิมพ์ : 2549

เลขหน้า :   หน้า 539 – 541

ISBN  :  974-571-949-8

สาระสังเขป :

 

วัยสูงอายุ (old age)

      ภาวะความเป็นผู้สูงอายุในครอบครัวใหญ่ในสังคมกสิกรรมและในระบบการทำงานที่ไม่มีการเกษียณอายุมักค่อยเป็นค่อยไป  การปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงในยามสูงอายุก็คล้อยตาม เป็นกระบวนการค่อยเป็นค่อยไปไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน  ดังนั้นผู้สูงอายุไม่ต้องพบกับภาวะวิกฤตทางกายและใจมากนักด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ผู้สูงอายุยังเป็นบุคคลที่สำคัญและมีค่าต่อครอบครัว บุตรหลาน และสังคม ผู้สูงอายุมีผู้ดูแลใกล้ชิดในบ้าน ผู้สูงอายุไม่มีเวลาว่างมากเกินไป ผู้สูงอายุยังสามารถหารายได้เลี้ยงตัวเองตามอัตภาพ  ผู้สูงอายุไม่ต้องเปลี่ยนบทบาททางสังคมและอาชีพมากนัก ผู้สูงอายุเคยเห็นและคุ้นเคยกับความเป็นผู้สูงอายุของบุคคลรุ่นก่อนตนขึ้นไปจึงทำให้เข้าใจกับวิถีชีวิตของความเป็นผู้สูงอายุได้ค่อนข้างง่ายผู้เข้าสู่วัยสูงอายุในครอบครัวเล็กในสังคมเมืองและสังคม อุตสาหกรรม ต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นวิกฤตมกกว่า ผู้สูงอายุในครอบครัวใหญ่และสังคมเกษตรกรรม อาทิเช่น บทบาททางสังคมและเศรษฐกิจมักผูกพันกับอาชีพที่มีการทำงาน เป็นระบบองค์กร    ทำให้ต้องมีการเกษียณอายุ  กิจกรรมในครัวเรือนและในครอบครัวมีน้อย ทำให้คนอ้างว้างทางสังคม ปัจจุบันจึงมีความตระหนักกันว่าความเป็นผู้สูงอายุต้องมีการเรียนรู้ เพื่อจะได้ปรับตัวต่อสภาวะความเป็นผู้สูงอายุในสังคม สมัยใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ

ชราวิทยา

          การจัดการความเป็นผู้สูงวัย เพื่อช่วยเหลือผู้สูงวัยนั้น ในปัจจุบันนี้จึงมีการรวบรวมสหวิทยาการเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุมาตั้งเป็นกลุ่มวิชาเรียกว่า ชราวิทยา ( gerontology ) ซึ่งมีสาระเนื้อหาคาบเกี่ยวกับวิชาการแขนงต่างๆ เช่น การพยาบาล เภสัชวิทยา จิตบำบัด สันทนาการ  สถาปัตยกรรม ปรัชญา ศาสนา  ฯลฯ ในประเทศอุตสาหกรรมยักใหญ่แทบทั่วโลก สหรัฐอเมริกา สวีเดน ญี่ปุ่น เยอรมันนี  ฯลฯ วิชาผู้สูงอายุได้มีการเรียนการสอนนับตั้งแต่ระดับมัธยมถึงมหาวิทาลัยในระดับปริญญาเอก  และยังมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนจัดตั้งขึ้นเพื่อการศึกษาหาความรู้ เผยแพร่ความรู้และให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุ

วัยสูงอายุกำหนดนับเมื่อใด

          ภาวะสูงอายุแตกต่างไปในแต่ละบุคคล เป็นการยากมากที่จะกำหนดให้เป็นสากลว่าเมื่อใดที่บุคคลเข้าสู่วัยสูงอายุ ทั้งนี้เพราะภาวะสูงอายุเป็นปรากฏการณ์ทางจิต  ทางสังคม  เนื่องจากความยากในการกำหนดการเริ่มต้นของ “ภาวะผู้สูงอายุ” ดังกล่าว จึงได้นับเอาปีปฏิทินเป็นเกณฑ์  โดยทั่วๆไปกำหนดนัดหมายกันว่าอายุประมาณ  60 – 65 ปี เป็นช่วงเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุ

การศึกษาค้นคว้า  เกี่ยวกับความยืนยาวของชีวิต ได้พบว่า หลังจากอายุ  60 – 65 ปี เป็นช่วงเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุ คาดหมายได้เลยว่า คนในปัจจุบันนี้โดยทั่วๆ ไป ถ้าไม่เป็นโคภัยร้ายแรงและไม่ประสบอุบัติเหตุมักจะมีอายุยืนยาวต่อไปอีกประมาณ 10 – 15 ปี เป็นอย่างน้อย ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ยาวมากช่วงหนึ่ง  คนสมัยใหม่จึงควรตั้งเป้าหมายวางแผนการไว้เลยว่าตนจะใช้ชีวิตอย่างไร

ช่วงวัยสูงอายุ 4 ช่วง

1. ช่วงไม่ค่อยแก่

           ช่วงนี้อายุประมาณ  60 – 69 ปี เป็นช่วงที่คนต้องประสบกับความเปลี่ยนแปลงของชีวิตที่เป็นภาวะวิกฤต หลายด้าน เช่น การเกษียณอายุ การจากไปของมิตรสนิท คู่ครอง  รายได้ลดลง  การสูญเสียตำแหน่งทางสังคม โดยช่วงนี้บุคคลโดยทั่วไปยังแข็งแรง แต่อาจจะต้องพึ่งพิงคนอื่นบ้าง สำหรับบุคคลที่มีการศึกษาสูง  รู้จักปรับตัว ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เรามีสมรรถภาพคล้ายๆ กับหนุ่มสาวมาก

2.ช่วงแก่ปานกลาง

          อายุประมาณตั้งแต่  70 – 79 ปี  เป็นช่วงที่คนเริ่มเจ็บป่วย  เพื่อนและสมาชิกในครอบครัวที่อายุใกล้ๆ  กันอาจเริ่มล้มหายตายจากมากขึ้น เข้าร่วมกิจกรรมของสังคมน้อยลง  การปรับตัวในระยะนี้ไม่ค่อยยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมของครอบครัวและสังคมมากนักอีกต่อไป

3.ช่วงแก่จริง

          อายุประมาณ 90 – 99 ปี ผู้มีอายุยืนถึงระดับนี้ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมยากขึ้น เพราะสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับคนอายุถึงขั้นนี้ต้องมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น  ไม่วุ่นวาย  แต่ก็ยังต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ยังกระตุ้นความมีสมรรถภาพในแง่ต่างๆ ตามวัย ผู้สูงอายุวัยนี้ต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากกว่าวัยที่ผ่านมา เริ่มย้อนนึกถึงอดีตมากขึ้น

4. ช่วงแก่จริงๆ

           อายุประมาณ 90 – 99 ปี ผู้มีอายุยืนถึงระดับนี้มีจำนวนค่อนข้างน้อย ความรู้ต่างๆ ด้านชีววิทยา สังคม และจิตใจของคนวัยนี้ยังไม่มีการศึกษามากนัก แต่อาจกล่าวได้ว่าเป็นระยะที่มีปัญหาทางสุขภาพผู้สูงอายุในวัยนี้ควรทำกิจกรรมที่ไม่ต้องแข่งขัน ไม่ต้องมีการบีบคั้นเรื่องเวลาว่าต้องทำให้เสร็จควรทำกิจกรรมอะไรๆ ที่พออกพอใจและอยากทำในชีวิต  สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มนี้ที่ได้พบผ่านวิกฤตต่าง ๆ ของชีวิตมาแล้วด้วยดีมากมาย จะเป็นคาบระยะแห่งความสุขสงบพอใจในตนเอง

ผู้เขียนสาระสังเขป : นางสาวตุลระวี  ไชยปัญโญ

2 Responses to “วัยสูงอายุ (old age)”

  1. krutoom พฤษภาคม 24, 2012 ที่ 3:42 pm #

    เป็นเรื่องที่ทุกคนควรสนใจให้มากๆนะคะ เพราะได้เดินเข้าไปสู่วัยผู้สูงอายุกันทุกวัน เนาะๆๆ

  2. krutoom พฤษภาคม 24, 2012 ที่ 3:43 pm #

    แบ่งได้ตั้ง 4 ช่วง การดูแลก็ต้องใส่ใจแบบไม่เหมือนกันนะคะ น้องน้ำหวานคุณแม่ยังสาวสวย อิอิ

ส่งความเห็นที่ krutoom ยกเลิกการตอบ